วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การใช้แผนที่

องค์ประกอบของแผนที่
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูมิประเทศแบบต่างๆ ป่าไม้ ปริมาณน้ำฝน และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ที่ตั้งของเมือง เส้นทางคมนาคม พื้นที่เพาะปลูก โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

1. ชื่อแผนที่ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับให้ผู้ใช้ได้ทราบว่าเป็นแผนที่เรื่องอะไร แสดงรายละเอียดอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง และตรงความต้องการ โดยปกติชื่อแผนที่จะมีคำอธิบายเพิ่มเติมแสดงไว้ด้วย เช่น แผนที่ประเทศไทยแสดงเนื้อที่ป่าไม้ แผนที่ระเทศไทยแสดงการแบ่งภาคและเขตจังหวัดเป็นต้น

2. ขอบระวาง แผนที่ทุกชนิดจะมีขอบระวาง ซึ่งเป็นขอบเขตของพื้นที่ในภูมิประเทศที่แสดงบนแผนที่แผ่นนั้น มักจะแสดงด้วยเส้นขนานเพื่อแสดงตำแหน่งละติจูดกับเส้นเมริเดียนเพื่อแสดงตำแหน่งลองจิจูด และจะแสดงตัวเลขเพื่อบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของตำแหน่งต่างๆ

3. ทิศทาง มีความสำคัญต่อการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่างๆ โดยในสมัยโบราณใช้วิธีดูทิศทางตามการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และการดูทิศทางของดาวเหนือในเวลากลางคืน ต่อมามีการประดิษฐ์เข็มทิศ ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยในการหาทิศขึ้น เนื่องจากเข็มของเข็มทิศจะชี้ไปทางทิศเหนือตลอดเวลา การใช้ทิศทางในแผนที่ประกอบกับเข็มทิศ หรือการสังเกตดวงอาทิตย์และดาวเหนือจึงช่วยให้เราสามารถเดินทางไปยังสถานที่ที่เราต้องการได้ ในแผนที่จะต้องมีภาพเข็มทิศหรือลูกศรชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ ถ้าหากแผนที่ใดไม่ได้กำหนดภาพเข็มทิศหรือลูกศรไว้ ก็ให้ใจว่าด้านบานของแผนที่คือทิศเหนือ

4. สัญลักษณ์ เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ ในภูมิประเทศจริง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่าและแปลความหมายจากแผนที่ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ในแผนที่จะต้องมีคำอธิบายสัญลักษณ์ประกอบไว้ด้วยเสมอ




5. มาตราส่วน เป็นอัตราส่วนระหว่างระยะทางที่ย่อส่วนมาลงในแผนที่กับระยะทางจริงใน
ภูมิประเทศ มาตราส่วนช่วยให้ผู้ใช้ทราบว่าแผนที่นั้นๆ ย่อส่วนมาจากสภาพในภูมิประเทศจริงในอัตราส่วนเท่าใด
มาตราส่วนแผนที่" มาตราส่วนแผนที่โดยมากจะมี 3 ลักษณะ ได้แก่ มาตราส่วนแบบเศษส่วน มาตราส่วนคำพูด และมาตราส่วนแบบกราฟิก
มาตราส่วนของแผนที่ คือ อัตราส่วนระหว่างระยะบนแผนที่กับระยะในภูมิประเทศ หรือ คือความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางราบบนแผนที่กับระยะทางราบในภูมิประเทศ
การเขียนมาตราส่วน เขียนได้หลายวิธี เช่น 1/50,000 หรือ 1:5,000 การคำนวณระยะทางบนแผนที่ คำนวณได้จากสูตร : มาตราส่วนของแผนที่ = ระยะบนแผนที่/ระยะในภูมิประเทศ

6. เส้นโครงแผนที่ เป็นระบบของเส้นขนานและเส้นเมริเดียน ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ให้เป็นมาตรฐานไว้ใช้อ้างอิงร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วย
6.1 เส้นขนาน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากทิศตะวันออก สร้างขึ้นจากการวัดมุมเริ่มจากเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีค่ามุม 0 องศา ไปยังขั้วโลกทั้งสองด้านละไม่เกิน 90 องสา เส้นขนานที่สำคัญประกอบด้วย
1. เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นอิเควเตอร์ มีค่ามุม 0 องศา
2. เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิปดาเหนือ
3. เส้นทรอปิกอฟแคปริคอร์น มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิดาใต้
4. เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาเหนือ
5. เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาใต้
6.2 เส้นเมริเดียน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ สร้างขึ้นจากการสมมติเส้นเมริเดียนปฐม มีค่ามุม 0 องศา ลากผ่านตำบลกรีนิซ กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร ไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ด้านละ 180 องศา โดยเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาตะวันออกและ 180 องศาตะวันตก จะทับกันเป็นเส้นเดียวนี้ให้เป็นเส้นวันที่หรือเส้นแบ่งเขตวันระหว่างชาติ หรือเส้นแบ่งเขตวันสากล
เส้นเมริเดียนแรก หรือ เส้นเมริเดียนปฐม ( Prime Meridian ) คือเส้นเมริเดียนที่ลากผ่านหอดูดาวแห่งหนึ่ง ตำบล กรีนิช ใกล้กรุงลอนดอนในประเทศอังกฤษทั้งนี้เพื่อใช้เป็นหลักอ้างอิงในการนับเส้นเมริเดียนอื่น ๆ ต่อไป
เส้นเมริเดียนรอบโลก มี 360 เส้น แบ่งเป็นเส้นองศา ตะวันออก 180 เส้น และเส้นองศาตะวันตก 180 เส้น
ความสำคัญของเส้นเมริเดียน คือ บอกพิกัดของตำแหน่งที่ตั้งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกโดยใช้ร่วมกันเส้นขนาน ( เส้นละติจูด ) และใช้เป็นแนวแบ่งเขตเวลาของโลก




7. พิกัดภูมิศาสตร์ เป็นระบบที่บอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยเส้นโครงแผนที่ซึ่งเส้นขนานและเส้นเมริเดียนตัดกันเป็นจุดสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยอ่านค่าพิกัดภูมิศาสตร์
เป็นละติจูด (เส้นขนาน) และลองจิจูด(เส้นเมริเดียน)
ดังนั้น ละติจูดจึงเป้พิกัดของจุดหนึ่งบนเส้นขนาน ส่วนลองจิจูดก็เป็นพิกัดของจุดหนึ่งบนส้น
เมริเดียน ซึ่งทั้งละติจูดและลองจิจูดมีค่าของมุมเป็นองศา โดย 1 องศา มีค่าเท่ากับ 60 ลิปดา และ 1 ลิปดา มีค่าเท่ากับ 60 ฟิลิปดา



พิกัดภูมิศาสตร์เป็นระบบที่บ่งบอกตำแหน่งที่ตั้งของจุดตำแหน่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยโครงข่ายของเส้นโครงแผนที่ซึ่งประกอบด้วยเส้นเมริเดียนกับเส้นขนานตัดกันเป็น " จุด"
1.) ละติจูด (Latitude ) เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือหรือใต้จนถึง 90 องศา ที่ขั้วโลกทั้งสอง
2.) ลองจิจูด (Longitude ) เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นเมริเดียน ไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก จนถึง 180 องศา
ปัจจุบันการบ่งบอกจุดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก สามารถทราบได้ง่ายและถูกต้องโดยใช้จีพีเอสเครื่องมือกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก (GPS: Global Positioning System) เครื่องมือชนิดนี้ มีขนาดเล็กพกพาได้สะดวก และให้ข้อมูลตำแหน่งบนพื้นผิวดลกได้ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้นจึงมีผู้นำเครื่องมือนี้ไปใช้ได้สะดวกสบายในกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การเดินเรือ การเดินทางท่องเที่ยวป่า การเดินทางด้วยรถยนต์ เครื่องบิน เป็นต้น เมื่อกดปุ่มสวิตช์ เครื่องจะรับสัญญาณจากดาวเที่ยมแล้วบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ให้ทราบ
การใช้แผนที่
เนื่องจากแผนที่แผ่นหนึ่งๆ จะบรรจุข้อมูลไว้ในลักษณะของลายเส้น สัญลักษณ์ และสี ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากแผนที่ ผู้ใช้จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ปรากฏบนแผนที่อย่างถูกต้อง โดยทำการศึกษาสัญลักษณ์แผนที่ มาตราส่วนแผนที่ ระบบอ้างอิงตำแหน่งในแผนที่ ดังนี้

2.1 สัญลักษณ์แผนที่
ประกอบด้วยสัญลักษณ์ที่แสดงสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและแสดงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นในลักษณะของลายเส้น รูป และสี ซึ่งจะกำหนดไว้ในคำอธิบายสัญลักษณ์
2.2 มาตราส่วนแผนที่
เนื่องจากสิ่งที่ปรากฏในแผนที่เป็นส่วนที่ย่อมาจากระยะทางจริงบนพื้นโลก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องบ่งบอกอัตราส่วนระหว่างระยะทางในแผนที่ต่อระยะทางจริง ซึ่งหมายถึง " มาตราส่วนแผนที่" มาตราส่วนแผนที่โดยมากจะมี 3 ลักษณะ ได้แก่ มาตราส่วนแบบเศษส่วนมาตราส่วนคำพูด และมาตราส่วนแบบกราฟิก
2.3 ระบบอ้างอิงตำแหน่งต่างๆในแผนที่
1.) เส้นเมริเดียน (Meridians ) เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือลงไปจุดขั้วโลกใต้ โดยเส้นเมริเดียนเส้นแรกมีค่ามุมเท่ากับ 0 องศา เรียกว่าเส้นเมริเดียนปฐม (Prime Meridian) เป็นเส้นเมริเดียนแรกสำหรับกำหนดเวลามาตรฐานทั่วโลก ซึ่งวัดจากหอดูดาว เมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ เส้นเมริเดียนที่ถัดจาก 0 องศา ไปทางขวามือมีค่าเป็นองศาตะวันอก จรถึง 180 องศาตะวันออก นั่นคือ ทรงกลมโลกมี 360 องศา ซึ่งเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา จึงมีค่ามุมได้ทั้ง ตะวันออกและตะวันตก
2.) เส้นขนาน (Parallels ) เป็นเส้นสมมติที่ลากจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก โดยทุกเส้นขนานกับเส้นศูนย์สูตร (Equator ) ซึ่งมีค่ามุมเท่ากับ 0 องศา เส้นขนานที่ถัดจากเส้นศูนย์สูตรไปทางทิศเหนือและใต้มีค่ามุมด้านละไม่เกิน 90 องศา จนไปถึงขั้วโลกแต่ละขั้ว
2.4 พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดภูมิศาสตร์เป็นระบบที่บ่งบอกตำแหน่งที่ตั้งของจุดตำแหน่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยโครงข่ายของเส้นโครงแผนที่ซึ่งประกอบด้วยเส้นเมริเดียนกับเส้นขนานตัดกันเป็น " จุด"
1.) ละติจูด (Latitude ) เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือหรือใต้จนถึง 90 องศา ที่ขั้วโลกทั้งสอง
2.) ลองจิจูด (Longitude ) เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นเมริเดียน ไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก จนถึง 180 องศา
ปัจจุบันการบ่งบอกจุดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก สามารถทราบได้ง่ายและถูกต้องโดยใช้จีพีเอสเครื่องมือกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก (GPS: Global Positioning System) เครื่องมือชนิดนี้ มีขนาดเล็กพกพาได้สะดวก และให้ข้อมูลตำแหน่งบนพื้นผิวดลกได้ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้นจึงมีผู้นำเครื่องมือนี้ไปใช้ได้สะดวกสบายในกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การเดินเรือ การเดินทางท่องเที่ยวป่า การเดินทางด้วยรถยนต์ เครื่องบิน เป็นต้น เมื่อกดปุ่มสวิตช์ เครื่องจะรับสัญญาณจากดาวเที่ยมแล้วบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ให้ทราบ

GPS กับ โลจิสติกส์

ในอดีตการจัดการเส้นทางการเดินรถ อาจจะไม่ใช่ตัวแปรหลักในการทำงานมากนัก แต่ปัจจุบันเนื่องด้วยปัญหาของราคาน้ำมัน หรือเชื้อเพลิงต่างๆที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับระบบการขนส่งมากยิ่งขึ้น GPSจะมีส่วนช่วยในการบริหารงานในกระบวนการขนส่งได้เป็นอย่างดี เริ่มจากการ จัดเส้นทางเดินรถ การปล่อยรถ การติดตามรถขนส่งในขณะปฎิบัติงาน ระบบ GPS จะเป็นตัวช่วยหลังจากปล่อยรถไปแล้ว ทำให้ทราบได้ว่ารถอยู่ตำแหน่งไหน ช่วยในการ ติดต่อกับคนขับรถทราบปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาเหล่านั้น ได้อย่างรวดเร็ว GPS กับ Vehicle Tracking System คือระบบบันทึกการใช้งาน ยานพาหนะด้วยเทคโนยีการกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม (Global Positioning System, GPS) แล้วนำมารวมกับเทคโนโลยี GPRS ของโทรศัพท์ เคลื่อนที่ ก็จะสามารถให้ข้อมูลการเดินทางต่างๆได้ เช่น แสดงเส้นทางการดินรถ การใช้ ความเร็วตลอดเส้นทางการเดินรถ ทำให้ส่วนบริหารหรือ ส่วนควบคุม รู้ได้ทันทีว่าขณะนี้ รถอยู่ที่ไหน ขับด้วยความเร็วเท่าไหร่ เป็นต้น

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. บริหาร และ จัดการยานพาหนะ

- วางแผนใช้งานรถได้อย่างถูกต้องตามทิศทางความเป็นจริง
- พนักงานไม่สามารถขับออกนอกเส้นทางได้
- วางแผนควบคุมเวลาเดินทาง
- พนักงานไม่สามารถจอดหรือหยุดรถโดยไม่จำเป็น
- พนักงานต้องวิ่งรถตามความเร็วที่กำหนด
- กำหนดเวลา ณ.จุดเป้าหมายให้พนักงานได้
- บอกเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดในการใช้รถ
- วางแผนการเดินทางให้สอดคล้อง และสัมพันธ์กับปริมาณงาน
- วางแผนการจัดส่งสินค้า ตามทิศทาง ระยะทาง และจำนวนของงาน
- วางแผนการใช้รถในการเดินทางในกรณีที่มีผู้จองใช้รถหลายราย
- วางแผนการเดินทางในการเข้าพบ ในกรณีที่ต้องการติดต่อธุรกิจหลายราย

2. ลดต้นทุนค่าน้ำมันรถและค่าซ่อมแซม

- พนักงานไม่สามารถขับรถเร็วกว่าที่กำหนด
- พนักงานไม่สามารถนำรถไปใช้ส่วนตัว
- ลดปัญหาของพนักงานที่ start รถแล้วเปิดแอร์นอน
- รถถูกใช้งานตามระยะทางและสภาพความเป็นจริง
- รถถูกจำกัดความเร็วตามข้อกำหนด

3.ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

- ได้ข้อมูลของสถานที่ตั้งของสำนักงานหรือสถานที่ต่างๆ
- บอกเส้นทางให้กับพนักงานใหม่ หรือพนักงานที่ยังไม่รู้จักเส้นทาง

4.สร้างเป็นฐานข้อมูลหลักเพื่อนำไปใช้ในองค์กร

- สร้างเป็นฐานข้อมูลในการวางแผนการบริหารและจัดการยานพาหนะ
- แผนการซ่อมบำรุงยานพาหนะ
- การบริหารงานบุคคลเช่นพฤติกรรมในการขับรถ
- แผนการขายการตลาดและการจัดส่ง